Yield farming คือ การทำฟาร์มในแบบของการกระจายอำนาจที่เรียกว่า Defi ซึ่งการฟาร์ม ก็เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะกำไรนั้นได้มาจากการใช้งานของเหรียญทั้งการเปลี่ยนเหรียญไปมา หรือการกู้ยืมเหรียญ ซึ่งยิ่งมากก็ได้ผลตอบแทนมาก บทความนี้จึงมาขยายรายละเอียดของการ farming แนะนำแพลตฟอร์ม รวมถึงค่าธรรมเนียมต่างที่น่าสนใจ
การทำฟาร์มผลผลิต หรือ Yield farming คือ อะไร?
yield farming ก็คือ รูปแบบการทำกำไรอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างคล้ายการ Staking เพียงแค่การฝากแบบนี้มีการใช้งานในระบบจริงๆ ไม่ใช้สินทรัพย์ที่เอาไว้ค้ำสิทธิ์ และมันก็มีข้อดีที่ทำให้มีสภาพคล่องในการแลกเปลี่ยนเหรียญคู่นั้นคู่นี้ ส่วนผลตอบแทนก็จะได้จากค่าธรรมเนียมในหารแลกเปลี่ยน และอาจเป็นเหรียญที่แพลตฟอร์มนั้นๆ ผลิตขึ้นมานั่นเอง แต่อาจจะได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่จำนวนการใช้งาน
การทำฟาร์มนั้นมีอยู่หลายแบบ และมีให้เลือกหลายระยะเวลา ทั้งการฝากเพื่อให้สำหรับการกู้ยืม เหรียญคู่ใน Liquidity Pool เพื่อเป็นกองกลางในการนำเหรียญไปใช้แลกเปลี่ยนกัน ซึ่งจะกำหนดวันในการล็อกเหรียญนั้นได้ใน 7 วัน, 15 วัน ถึง 60 วัน โดยมีหลักการดังนี้
- อารมณ์เดียวกับการฝากเงินในธนาคาร แต่จะเป็นการให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า และอาจมีความเสี่ยงในเรื่องของราคาเหรียญ ผู้คนจึงมักฝากเป็น Stablecoin แทนเพราะไม่มีความผันผวนที่สูง และจะมีมูลค่าเท่ากับเงินที่ค้ำไว้นั่นเอง
- เป็นตัวกลางสำหรับคนที่ต้องการจะนำเหรียญมาฝาก และสำหรับผู้ที่ต้องการจะใช้เงิน สิ่งนี้จึงทำให้เกิดสภาพคล่องขึ้น
- DeFi ต่างๆ นั้น ไม่ต้องการใครมาเป็นตัวกลางในการทำธุรกรรม ซึ่งทำได้ทั่วโลก แต่ให้เป็นหน้าที่ของ Smart Contract แทน จึงไม่มีใครควบคุม และค่าธรรมเนียมก็จะเพิ่มลดของมันเองตามจำนวนการใช้งานเหรียญนั้น
ที่มา : สิ่งที่ต้องรู้ก่อนทำ Yield Farming: ทำฟาร์มบนโลกคริปโตฯ ง่ายจริงหรือ? I CRYPTO DAY EP14 [1]
ระบบการทำฟาร์มที่มีคนรู้จักน้อย แต่กำลังเติบโตขึ้น
ถึงแม้จะเป็นระบบที่รู้จักกันไม่มาก แต่ก็กำลังขยายตัวมาอย่างตลอด อาจลดลงจากช่วงที่ bitcoin และเหรียญอื่นๆ ร่วงลงมา ในเดือนธันวาปี 2566 ที่ผ่านมานี้ ก็มีเหรียญที่ถูกล็อกไว้มากถึง 47 พันล้านดอลลาร์ [2] ซึ่งอาจจะมีมากขึ้นกว่านี้แน่ๆ ในช่วงที่ Bitcoin กำลังจะเข้าสู่ Bitcoin Halving ที่กำลังจะถึงนี้สังเกตได้จากราคาช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาที่ขึ้นมาถึง 157.91%
ซึ่งสาเหตุที่การ Yield farming มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจเป็นเพราะการฟาร์มคือวิธีการทำกำไรได้เร็วที่สุด แถมยังเหมือนการฝากประจำในธนาคารหรือลงทุนในหุ้นตราสารหนี้ที่จะล็อกเงินไว้ แล้วกินกำไรที่ได้ตลอดเวลา ถึงจะมีความเสี่ยงในเรื่องของราคาเหรียญ หรือค่าธรรมเนียมที่ไม่เท่ากัน แต่ก็ถึงว่าได้มากอยู่ดี ตราบใดที่ยังมีการแลกเปลี่ยนเหรียญกันอยู่ ซึ่งในการเลือกฝากก็มีวิธีที่ง่ายมากดังนี้
- การเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสม นี่เป็นขั้นตอนแรกในการเลือกทำฟาร์มเลย ซึ่งในปัจจุบันก็มีอยู่หลายเจ้าที่ออกมาให้บริการ ซึ่งจะพูดถึงในหัวข้อต่อไป หลักๆ ในการเลือกก็จะมีแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือ ค่าธรรมเนียมที่ไม่สูงหรือตำเกินไป ซึ่งเพียงเป็นแพลตฟอร์มที่มีคนใช้เยอะ หรือเปิดมานาน นั้นก็อาจเป็นหนึ่งในทางเลือกได้แล้ว
- การจัดหาสภาพคล่อง ก็คือการหาเหรียญในการฝากคู่ที่มาสภาพคล่องสูง เพราะยิ่งมีการแลกเปลี่ยนที่มาก มันก็ยิ่งทำให้ได้ค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยนที่มากขึ้นเช่นกัน อย่างการเลือกเป็นเหรียญคู่ Ethereum กับเหรียญ DAI หรืออาจมีบางคู่ที่ได้มากกว่านี้ก็ได้ โดยแต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีเหรียญคู่ที่รับฝากไม่เหมือนกัน
- นำรางวัลกลับมาลงทุนใหม่ แบบการทบต้น แน่นอนว่าการดูแล Cypto ของเรา ไม่ใช้แค่ลงทุนทิ้งไว้ยาวๆ แต่เป็นการนำเอาดอกเบี้ยที่ได้ฝากเข้าไปอีก ที่เรียกกันว่า Re Invest เพื่อให้เหรียญมีการทบต้นของตัวมันเองจากที่จะได้ 12% ของ 5000 ก็จะเป็น 12% ของ 5500 หรือมากกว่านั้นตามเหรียญคู่ที่เราฝากไป
ที่มา : Yield Farming: ปฏิวัติรายได้แบบพาสซีฟใน Crypto [2]
แพลตฟอร์มต่างๆ ในโลกของ Defi และค่าธรรมเนียม
หากได้ติดตามโลกของ Cypto แล้วจะเห็นได้ว่ามีแพลตฟอร์มมากมายเกิดขึ้นมาเพื่อรองรับกับทำ Yield Farming ทั้ง App ซื้อขาย แพลตฟอร์มกระเป๋าคริปโต หรือแม้กระทั่งเกม NFT บางเกมก็มีระบบที่ให้เราใช้เหรียญซื้อผลผลิตไปฟาร์มไว้ได้ และจะให้ผลตอบแทนทุกวัน หรือทุกๆ 7 วัน ซึ่งบทความนี้ก็จะเป็นการพูดถึง แพลตฟอร์มที่รับการ Farming โดยตรง พร้อมผลตอบแทนที่จะได้
- Uniswap
แพลตฟอร์มที่นับเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดมานาน สำหรับการให้บริการที่เกี่ยวกับโลก Defi ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงน้อยที่สุดแล้ว เพราะในที่อื่นๆ ก็จะแจก Governance Token แต่แพลตฟอร์มนี้จ่ายให้เป็นค่าธรรมเนียมเพียวๆ เลย โดยผลตอบแทนจะอยู่ที่ 5-20% สำหรับเหรียญ Stablecoin ทั้งสอง และ 20-70% สำหรับเหรียญ Stablecoin กับ เหรียญคริปโตอื่นๆ
- Balancer
จุดเด่นของแพลตฟอร์มนี้ก็คือการกำหนดสัดส่วนในการฝากของเหรียญได้อย่าง 80:20 ในขณะที่เจ้าแรกอย่าง Uniswap บังคับลงอย่างละครึ่ง โดยแพลตฟอร์มนี้จะแจกให้ทั้งค่าธรรมเนียม และเหรียญ Governance ผลตอบแทนก็จะอยู่ที่ 5-50% สำหรับเหรียญ Stablecoin คู่ และ 20-50% สำหรับเหรียญ Stablecoin คู่กับ เหรียญคริปโตอื่น ซึ่งข้อดีตรงไม่ว่าเหรียญไหนก็มีโอกาสได้เท่ากันหมด
- SushiSwap
แพลตฟอร์มที่เพิ่มเปิดตัวมาในช่วงปี 2020 ซึ่งก็โดนกล่าวหาว่าเป็นแพลตฟอร์มลอกเลียนแบบ Uniswap ซึ่งภายหลังก็สามารถรองรับเชนได้มากถึง 10 เชน แถมมีความชัดเจนมากขึ้น ในการให้ผลตอบแทนแบบ Balancer ค่าธรรมเนียม และเหรียญ Governance ผลตอบแทนก็สำหรับคู่เหรียญ Stablecoin อยู่ที่ 5-20% และคู่ Stablecoin กับอื่นๆ ก็อยู่ที่ 20-50%
ที่มา : Yield Farming คืออะไร? หนทางการขุดเหรียญทำกำไรบนโลก DeFi แบบวิถีเกษตรกร [3]
สรุป Yield farming คือ รายได้แบบพาสซีฟด้วย Crypto
บทความที่ตอบคำถามของคำว่า Yield farming คือ ซึ่งจะอธิบายในความหมาย หลักการทำงาน การเติบโตของมัน และวิธีการเลือกฝาก รวมไปถึงการแนะนำแพลตฟอร์มยอดนิยมที่มีการบริการในด้านของการ farming เหรียญ พร้อมเผยเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมที่จะได้รับของแต่ละแพลตฟอร์มด้วย
อ้างอิง
[1] finnomena. (November 10, 2023). สิ่งที่ต้องรู้ก่อนทำ Yield Farming: ทำฟาร์มบนโลกคริปโตฯ ง่ายจริงหรือ? I CRYPTO DAY EP14. Retrieved from finnomena
[2] plisio. (December 12, 2023). Yield Farming: ปฏิวัติรายได้แบบพาสซีฟใน Crypto. Retrieved from plisio
[3] finnomena. (July 15, 2021). Yield Farming คืออะไร? หนทางการขุดเหรียญทำกำไรบนโลก DeFi แบบวิถีเกษตรกร. Retrieved from finnomena