CBDC เงินดิจิทัลแห่งชาติ โปรเจกต์ใหญ่ในหลายประเทศที่จะสามารถยกระดับระบบชำระเงินของประเทศได้อีกขั้น ซึ่งก็จะมีความต่างจาก Cryptocurrency ไปไม่น้อย และอาจมาประประโยชน์ในระบบเงินและในภาครัฐมากมาย บทความนี้จะจะพูดถึงเหรียญดังกล่าว ประโยชน์ของมัน และเหรียญนี้ในประเทศต่างๆ ด้วย
CBDC เงินดิจิทัลแห่งชาติ คืออะไร?
ย่อมาจาก Central Bank Digital Currency เงินในรูปแบบดิจิทัล ที่ออกโดยธนาคารกลาง หรือธนาคารแห่งชาติ ของแต่ละประเทศ ซึ่งจะเป็นเหรียญดิจิทัล ที่มีมูลค่า และลักษณะการใช้งานไม่ต่างจากเงินสด ซึ่งก็จะมีการใช้เทคโนโลยี blockchain เป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยประเทศไทยเองก็มีแล้วเช่นกัน ภายใต้ชื่อ โครงการอินทนนท์ ตั้งแต่ปี 2019
- ใช้โอนเงินระหว่างสถาบันการเงินร่วมกับธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง
- เทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายศูนย์มาตรวจสอบระบบธุรกรรมได้แบบไม่กระจายศูนย์ เพราะรวมอำนาจการควบคุมไว้ที่ ธปท. ในการกำหนด อย่างการทำ KYC และใสโค้ดเงื่อนไขในการใช้งานได้
- มีมูลค่าเท่ากับเงินบาท 1 เหรียญก็ 1
- เงินดิจิทัลสามารถรองรับการโอนเงินระหว่างประเทศได้รวดเร็วขึ้น แถมตรวจสอบได้ ซึ่งกำลังศึกษาร่วมกับ ธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) ในโครงการ mBridge
ที่มา: ความคืบหน้าและการพัฒนา CBDC ของไทยเป็นอย่างไร [1]
ประโยชน์ของการใช้เหรียญดิจิทัล CBDC เงินดิจิทัลแห่งชาติ
หนึ่งในระบบการเงินของประเทศที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคดิจิทัลได้ ซึ่งการนำมาใช้งานของเงินดิจิทัลแห่งชาตินี้ สำหรับไทยที่สามารถใช้แทนเงินสดได้เลย ส่งผลให้ระบบการเงินที่รวดเร็วอยู่แล้ว มีประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีก แถมยังมีส่วนช่วยยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมในหลายๆ ด้านดังนี้
โอกาสในการเข้าถึงระบบการจ่ายเงิน
เข้าถึงบริการทางการเงินแบบไม่ต้องมีบัญชีธนาคาร ทำให้การเข้าถึงระบบการจ่ายเงินง่ายขึ้นอย่างมาก ทั้งสะดวก รวดเร็ว และมีความปลอดภัยสูง ประชาชนที่เข้าไม่ถึงบริการของสถาบันการเงิน ก็สามารถใช้เงินได้ผ่านเหรียญนี้ที่มีความสะดวกกว่าการถือเงินสด
ประสิทธิภาพในการโอนเงินระหว่างประเทศ
การต่อยอดระบบโอนเงินระหว่างประเทศได้ ซึ่งความสุดยอดก็คือการช่วยลดระยะเวลาการโอนเงินระหว่างประเทศจากที่เป็น 2-3 วันกลายเป็นหลักวินาทีเท่านั้น ลดต้นทุนในการทำธุรกรรมของระบบปัจจุบัน และส่งเสริมธุรกิจการส่งออกระหว่างประเทศ ให้มีความคล่องตัวขึ้นอย่างมากจากการโอนเงินที่ทั้งเร็ว และมีค่าธรรมเนียมลดลง
ง่ายต่อการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
โดยประโยชน์ในข้อนี้จะแบ่งออกเป็นสองนโยบายหลักๆ ก็คือ
- นโยบายการคลังในการอัดฉีดเงิน ยามวิกฤติต่างๆ หรือเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ เหรียญดิจิทัลเพื่อไทย ด้วยการอัดฉีดเหรียญนี้หรือเงินดิจิทัลอื่นเข้า E-wallet ได้โดยตรง
- นโยบายทางการเงิน สามารถติดตามปริมาณการไหลเวียนของเงินในระบบได้ผ่านระบบบล็อกเชน จึงสามารถตรวจสอบความผิดปกติได้ และสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อวางแผนการเงินให้เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในแต่ละช่วงได้
ที่มา: จับตาการพัฒนา CBDC เงินดิจิทัลของธนาคารกลางที่จะพลิกโฉมระบบการเงินโลก [2]
ความแตกต่างระหว่าง ระบบ PromptPay กับ CBDC
เงินดิจิทัลนี้ ก็คือเงินบาทที่เปลี่ยนรูปแบบจากธนบัตรมาเป็นรูปแบบดิจิทัล โดยไทยมีระบบพร้อมเพย์เป็นโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงิน ที่ทำให้ไทยเป็นประเทศที่ใช้เงินสดน้อย และเร็วที่สุดในอาเซียนอยู่แล้ว โดยพร้อมเพย์เป็นเงินจากธนาคารที่ประชาชนนำเงินไปฝากไว้ ส่วน CBDC จะเป็นเงินสดในรูปดิจิทัลที่ควบคุมได้โดย ธปท. โดยไม่ต้องทำผ่านธนาคารอื่น [3] ซึ่งจะมีความแตกต่างกันดังนี้
- เหรียญดิจิทัลแห่งชาติสามารถเขียนเงื่อนไขให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ อย่างการจำกัดในสินค้าผิดกฎหมายบางอย่าง
- เหรียญดิจิทัลยังตรวจสอบเส้นทางการเงินได้ง่ายกว่า และรวดเร็วโดยไม่ต้องพึ่งธนาคารพาณิชย์อื่นๆ เลย ป้องกันการฟอกเงิน และการใช้เงินไปซื้อสิ่งผิดกฎหมายต่างๆ โดยระบุตัวคนได้
- โดยระบบพร้อมเพย์จะมีการยืนยันตัวด้วยเลขบัตร และเบอร์โทร ซึ่งเหรียญดิจิทัลก็อาจจะต้องเพิ่มข้อมูลไปอีกนิด อย่างการทำ KYC ให้ชัดเจนมากขึ้น
ที่มา: Retail CBDC PromptPay และ Cryptocurrency แตกต่างกันอย่างไร [3]
CBDC เงินดิจิทัลแห่งการรวมศูนย์
ถึงแม้ว่าเหรียญดังกล่าวนี้จะมีแนวคิดแบบเดียวกับคริปโทเคอร์เรนซี และยังใช้ระบบของ Blockchain ที่เป็นต้นแบบของการกระจายอำนาจ(Decentralized) แต่ CBDC ในแต่ละประเทศที่ผลิตมา ไม่ว่าจะเพื่อจุดประสงค์ใด เหรียญนี้ก็คือเหรียญที่ควบคุมโดยธนาคารกลางอย่างสมบูรณ์ ซึ่งก็อาจจะมีทั้งข้อดีและเสียตามกันมา [4]
กล่าวคือ CBDC เงินดิจิทัลแห่งชาติ เป็นการใช้ระบบ Blockchain ในบางฟีเจอร์เท่านั้น อย่างการตรวจสอบได้ เพียงแต่จะแชร์ข้อมูลไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ก็จะเปลี่ยนมาเป็นการรวมข้อมูลมาที่ ธปท. แต่ตัวเลือกในการใช้งาน Cryptocurrency ก็ยังเสรีเช่นเดิมเราอาจจะใช้ทั้ง Retail CBDC, PromptPay และ Cryptocurrency ที่มีลักษณะเด่นอันแตกต่างพร้อมกันก็ได้
เหรียญดิจิทัลแห่งชาติในประเทศต่างๆ
ทั้งนี้ไม่ได้มีแค่ในไทยที่ผลิตเหรียญนี้ออกมา เพียงแต่เป็นกลุ่มแรกๆ ที่ไหวตัวเกี่ยวกับธีมใหม่ของโลก โดยในชาติอื่นๆ ก็มีการเตรียมการสร้างแล้วเหมือนกันอย่างจีนที่ คิดจะผลิตเหรียญแบบนี้ออกมาในชื่อ DCEP หรือเกาหลีที่กำลังทดลองใช้ในสามเมืองใหญ่ๆ และยังมีประเทศอื่นอีกดังนี้
- E-Krona ในสวีเดน ประเทศที่มีอัตราการชำระเงินด้วยเงินสดอยู่ที่ 13% ซึ่งเป็นโครงการที่มีมาก่อนไทยอีก ตั้งแต่ปี 2018 แถมตัว E-Krona ยังมีการใช้งานกับร้านค้าและ End-User แล้ว พร้อมทั้งการชำระแบบออฟไลน์ด้วย
- ยูโรดิจิทัลในฝรั่งเศส ซึ่งมีการทดลองมาแล้วไม่นานหลังเดือนมีนาคม 2020 ในเหรียญยูโรดิจิทัล
- แอฟริกาใต้ เป็นเหรียญที่มีคุณสมบัติในการทำงานร่วมกันกับเงินสดมากกว่าจะมาแทนที่เงินสด ซึ่งเริ่มพัฒนาในธนาคารกลางของแอฟริกาใต้ ในเดือนพฤษภาคมปี 2019
- อังกฤษ อยู่ในการพิจารณาสร้างเหรียญดิจิทัลนาน เนื่องด้วยอังกฤษเองยังเป็นประเทศที่คนพกเงินสดอยู่ และมีการใช้งานที่ค่อนข้างเยอะอยู่ แต่ก็ลดลงมาเมื่อ 2018 เหลือ 28% ก็ได้เริ่มโปรเจกต์นี้เมื่อ 2021 พร้อมอเมริกา
- Digital Dollar ในอเมริกา เริ่มมีการพัฒนาแล้วตั้งแต่ปี 2021 โดยอดีตผู้นำของคณะกรรมการการ Commodity Futures Trading Commission (CFTC) โดยมีแผนการสร้างที่วางไว้ให้แล้วเสร็จใน 10 ปี
ที่มา: CBDC สกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติคืออะไร? ทำไมหลายประเทศทั่วโลกถึงตื่นตัว [5]
CBDC นำมาเก็งกำไรไม่ได้ และไม่มีการเก็บภาษี crypto
จากข้อมูลข้างต้น เหรียญนี้เป็นเหรียญที่มีค่าเท่ากับ 1 บาทตลอดเวลา จึงไม่มีผลในการเก็บเพื่อเก็งกำไรเท่าไหร่นัก แต่ก็อาจสามารถได้เปรียบด้านราคาส่วนต่างของเหรียญในประเทศต่างๆ ได้ ในคุณสมบัติแบบนี้ จึงไม่มีการเก็บภาษีคริปโต แบบเหรียญทั่วไปที่จะมีการทำกำไรได้ จากความผันผวนของราคา
สรุป CBDC เงินดิจิทัลแห่งชาติ การปฏิวัติระบบการเงิน
อีกหนึ่งระบบการชำระเงินใน และระหว่างประเทศ ที่จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งก็มีหลายประเทศพัฒนามาใช้งาน และหลายประเทศก็ทำโปรเจกต์ใหญ่ๆ ร่วมกันด้วย โดยการใช้งานก็มีประโยชน์ในหลายๆ ด้านเลย
อ้างอิง
[1] Bank Of Thailand. (2023-2024). ความคืบหน้าและการพัฒนา CBDC ของไทยเป็นอย่างไร. Retrieved from bot
[2] exim. (November, 2021). จับตาการพัฒนา CBDC เงินดิจิทัลของธนาคารกลางที่จะพลิกโฉมระบบการเงินโลก. Retrieved from exim
[3] Bank Of Thailand. (2023-2024). Retail CBDC PromptPay และ Cryptocurrency แตกต่างกันอย่างไร. Retrieved from bot
[4] efinancethai. (June 9, 2022). สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) และความแตกต่างกับคริปโทเคอร์เรนซี. Retrieved from efinancethai
[5] finnomena. (August 13, 2021). CBDC สกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติคืออะไร? ทำไมหลายประเทศทั่วโลกถึงตื่นตัว. Retrieved from finnomena