เห็ดเรืองแสง หนึ่งความสวยงามของธรรมชาติ ยามค่ำคืน ที่มีหลายสีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นสีขาว สีน้ำเงิน สีเขียว หรือสีอื่นๆ ที่งดงาม แต่หารู้ไม่ว่า ความสวยงามเหล่านี้ ต่างแฝงไปด้วยพิษร้าย และความน่ากลัว ที่ซ่อนอยู่
เห็ดเรืองแสง คืออะไร
เห็ดเรืองแสง มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Bioluminescent Mushrooms จัดอยู่ในวงศ์ เห็ดกระสือ ที่สามารถเรืองแสง หรือเปล่งแสงด้วยตัวเองได้ในที่มืด [1] โดยแสงที่เกิดขึ้นนั้น สามารถมีได้หลากหลายสี ตามชนิดของเห็ด แต่ส่วนใหญ่ที่มักจะพบได้บ่อย จะเป็นสีเขียว 95% สีขาว 2% และ 3% เป็นสีน้ำเงิน โดยเห็ดชนิดนี้ ถือได้ว่า เป็นเห็ดอีกชนิดหนึ่งที่หายาก พอๆ กับ เห็ดทรัฟเฟิลขาว ที่พบในประเทศไทย
ทำไมกลุ่ม เห็ดกระสือ ถึงเรืองแสงได้
แสงที่เปล่งออกมาจาก กลุ่มเห็ดกระสือ หรือในเห็ดเรืองแสงนั้น เกิดจาก สารอินทรีย์ Luciferins และเอนไซม์ Luciferase ทำปฏิกิริยากันภายในเซลล์ ทำให้เกิดการเรืองแสง ช่วงคลื่นที่ 520 - 530 nm เหมือนกับแมงกะพรุน หิ่งห้อย และหวีวุ้น นั่นเอง [2]
เห็ดเรืองแสง สามารถทานได้ไหม
เห็ดเรืองแสง ไม่สามารถทานได้ เนื่องจาก เห็ดเรืองแสงส่วนใหญ่ที่พบ เป็นเห็ดมีพิษ หากบริโภค หรือทานเข้าไป อาจเป็นอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตได้
เห็ดเรืองแสง สามารถพบได้ที่ไหน
เห็ดประเภทนี้ สามารถพบได้ในทุกประเทศ ที่มีความชื้นสูง อากาศถ่ายเทดี มีอาหารสำหรับเห็ด และที่สำคัญ พื้นที่นั้นๆ จะต้องไม่มีแสงแดดที่ร้อนจนเกิดไป มักพบได้ตามกิ่งไม้ หรือซากพืช ที่กำลังจะถูกย่อยสลาย [3]
เห็ดเรืองแสง ในประเทศไทยมีไหม ?
จากบทความบน Facebook ของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2017 ได้มีการเขียนระบุว่า ในปี 2545 ที่พื้นที่โคกภูตากา อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น ได้พบเห็ด ที่มีลักษณะเหมือนกับเห็ดข้างต้นชนิดดังกล่าว โดยกลางวันไร้แสง กลางคืนเห็นเป็นเหลืองอมเขียว ที่ระยะ 10 - 20 เมตร [4]
ประโยชน์ของเห็ดเรืองแสง
เห็ดเรืองแสง นอกจากจะมีพิษ และความสวยงาม ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังมีประโยชน์ในเรื่องของการกำจัดไส้เดือนฝอยรากปม วัชพืชตัวฉกาจ ศัตรูตัวจิ๋วของรากพืชหลายๆ ชนิด อีกทั้ง ยังสามารถสร้างความสวยงามยามค่ำคืน ได้อย่างน่ามหัศจรรย์อีกด้วย
สรุป เห็ดเรืองแสง
เห็ดเรืองแสง หรือ Bioluminescent Mushrooms จัดเป็นเห็ดประเภทเดียวกับกลุ่ม เห็ดกระสือ ที่สามารถเปล่งแสงได้ในเวลากลางคืน และแสงที่เกิดขึ้นนั้น เป็นแสงตามธรรมชาติของเห็ด ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยากันภายในเซลล์ หากไม่อยากตุยเย่ ห้ามรับประทานเด็ดขาด เพราะร้อยละ 99.98% เห็ดพวกนี้มีพิษ
อ้างอิง
[1] KAS. (October 3, 2022). เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีชีวภัณฑ์ปราบไส้เดือนฝอยรากปม. Retrieved from kas.siamkubota
[2] NSTDA. (2021-2024). เห็ดเรืองแสง : ความหลากหลายเชิงชนิดและการผลิตฯ. Retrieved from waa.inter.nstda
[3] oard4. (2024). การผลิตและการใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีในการควบคุมโรคพืชในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. Retrieved from oard4
[4] Facebook. (June 16, 2017). มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. Retrieved from facebook