เงินตราโบราณ สิ่งวัดมูลค่าของสินค้า ในสมัยก่อน ที่ปัจจุบัน เป็นที่ต้องการมาก ในบรรดาหมู่นักสะสมของเก่า และนักสายมูทั้งหลาย เนื่องด้วย ความเชื่อที่ว่า หากใครมีไว้ครอบครอง และเก็บเป็นขวัญถุง จะได้เป็นเศรษฐี และโชคดี มั่งคั่ง ตลอดปี
เงินตราโบราณ คืออะไร
เงินตราโบราณ หรือ เงินไทยโบราณ เป็นสิ่งที่มนุษย์ยุคก่อน หรือคนโบราณ ในสมัยก่อนประดิษฐ์ขึ้น พร้อมประทับตราสัญลักษณ์ เพื่อใช้สำหรับซื้อ - ขาย แลกเปลี่ยนสินค้ากัน พร้อมกับวัดมูลค่าของสิ่งของต่างๆด้วยสิ่งประดิษฐ์ ที่เรียกว่าเงินตรานี้ [1]
ซึ่งสิ่งที่ประดิษฐ์ และนำมาใช้ในรูปแบบของเงินตรานั้น มีหลากหลาย ตามแต่ยุคสมัยในช่วงนั้นๆ ได้แก่ เงินพดด้วง เบี้ยหอย และเงินร่วมสมัยต่างๆ อย่าง เงินตราอีสาน เงินตราล้านนา และอื่นๆ เป็นต้น
เงินตราโบราณ ตามแต่ละยุคสมัย มีอะไรบ้าง
หากแบ่งตามยุคสมัย ในสมัยก่อน ที่นับเริ่มต้นตั้งแต่ สมัยกรุงสุโขทัย จะได้เป็นดังนี้
- สมัยกรุงสุโขทัย
เป็นครั้งแรก ที่ใช้เงินพดด้วง แบบเดียวกัน วัสดุเงินแท้ 80% ทองแดง 10% สำริด 5% และอื่นๆ อีก 5% เหมือนกัน แต่มีรูปร่างกับขนาด ที่ไม่เหมือนกัน และมาตราค่าเงิน ที่ใช้คือ ตำลึง สลึง และบาท เริ่มต้นใช้ในปี พุทธศตวรรษที่ 19 - 20
- สมัยกรุงศรีอยุธยา
พุทธศักราชที่ 1893 - 2310 มีการใช้เงินพดด้วง ที่มีมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น รูปร่าง ขนาด วัสดุ หรือตราสัญลักษณ์ประทับ (มีมากกว่า 5 สัญลักษณ์) ค่าเงินที่ใช้ คือ เฟื้อง ไพ สองไพ สองสลึง บาท และปลีกย่อย ใช้เบี้ย
- สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มมีการตอกประทับตรา บนเงินพดด้วง เป็นรูปตราจักรประจำแผ่นดิน และตราประจำรัชกาล ที่คาดว่ามี 2 ตราประทับที่ใช้มากที่สุด คือ ตราทวิวุธ และตราตรี ที่เริ่มใช้กันในปี พุทธศักราช 2310 - 2325
- สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยนี้ได้มีการใช้ เงินตราโบราณ ที่เป็นเงินพดด้วงอยู่ ในช่วงรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 ตอนต้น ต่อมาได้มีการก่อตั้ง โรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์ ที่มีนามพระราชทานว่า " โรงกษาปณ์สิทธิการ " ผลิตเงิน และธนบัตรที่ใช้กันในทุกวันนี้
ที่มา: เงินตราโบราณของไทย [2]
หากมี เงินตราโบราณ จะได้เป็นเศรษฐี จริงหรือไม่
ในปัจจุบันนี้ เงินตราโบราณ ถือได้ว่า เป็นของเก่าหายาก ที่มีมูลค่าสูง มักซื้อกันในราคาสูง ตามแต่ละชนิด ประเภท เนื้อเงิน และอายุ ซึ่งแน่นอนว่า หากท่านใดมี ที่เป็นของแท้ และกำลังเป็นที่ต้องการในหมู่นักสะสม ของเก่า หรือเงินโบราณของไทยนี้ อาจสามารถขายได้ในราคาที่ดีเลยทีเดียว
เงินตราโบราณ ร่วมสมัย ที่ใช้คู่กับเงินพดด้วง มีอะไรบ้าง
นอกจากเงินพดด้วง หรือเงินเบี้ยแล้ว ประเทศไทยในสมัยอดีต ยังได้มีการใช้เงินตราร่วมสมัย ของอาณาจักรล้านนา และอาณาจักรล้านนาช้างอีกด้วย ดังนี้
เงินตราล้านนา
เงินตราล้านนา เป็นเงินตราท้องถิ่น ที่นิยมใช้กันในโซนภาคเหนือของไทย ที่ในสมัยนั้น มีเงินตราเป็นของตนเอง ก่อนที่จะร่วมแผ่นดินอย่างแน่นแฟ้น และเงินตราที่ใช้ ได้แก่ เงินท้อก เงินท้อกเชียงใหม่ เงินปากหมูเงินดอกไม้หรือเงินผักชี เงินเจียง และเงินไซซี [3] ร้อยละ 95% เป็นเงินที่ทำจากวัสดุเนื้อเงิน และเนื้อสำริดผสมเป็นหลัก
ซึ่งแต่ละชนิด จะมีรูปร่าง ขนาด และสัญลักษณ์ ที่แตกต่างกันออกไป โดยเงินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ เงินดอกไม้ ที่มีส้นผ่าศูนย์กลาง 10 - 100 มม. และเงินท้อกเชียงใหม่ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง โดยประมาณ 14 - 47 มม
เงินตราอีสาน
เงินตราอีสาน หรือ เงินตราอาณาจักรล้านช้าง เงินเงินตราท้องถิ่น ที่นิยมใช้กันในโซนภาคอีสาน ลุ่มแม่น้ำโขง และรวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวด้วย โดยเงินตราที่ใช้ ก็จะมีอยู่กัน 4 ชนิด แต่หลักๆ ที่ใช้ก็จะมี เงินลาด เงินฮ้อย และเงินลาดฮ้อย ซึ่งทั้ง 3 ชนิด ก็จะมีรูปร่างที่คล้ายกันคือ ยาว รี วัสดุทำจากเนื้อเงิน และค่อนข้างมีน้ำหนัก [4]
สรุป เงินตราโบราณ
เงินตราโบราณ หรือ เงินไทยโบราณ เป็นเงินที่ใช้ สำหรับซื้อ - เปลี่ยน แลก - ขาย และเป็นตัวกลางในการบอกวัดมูลค่าของสินค้านั้นๆ ที่ต้องการจะแลกเปลี่ยนกัน โดยหลักๆ ที่ใช้กันในสมัยก่อน จะเป็นเงินพดด้วง เบี้ยหอยน้ำเค็ม และเงินร่วมสมัยของภาคเหนือ และภาคอีสาน
อ้างอิง
[1] กองกษาปณ์. (2014-2024). เงินตรา. Retrieved from royalthaimint
[2] พระราชวังเดิม. (2013-2024). เงินตราโบราณของไทย. Retrieved from wangdermpalace
[3] ACCL. (March 16, 2023). เงินตราล้านนา. Retrieved from accl.cmu
[4] ศิลปะวัฒนธรรม. (June 19, 2023). เงินฮาง-เงินฮ้อย เงินตราโบราณที่ใช้กันในภาคอีสาน และลุ่มแม่น้ำโขง. Retrieved from silpa-mag