เกาะโลซิน 1 ในความอุดมสมบูรณ์ ท่ามกลางทะเลอันดามัน ที่ห้อมล้อมไปด้วยน้ำทะเลสีฟ้าคราม และสรรพสิ่งมีชีวิต ใต้มหาสมุทรทั้งหลาย ที่ธรรมชาติสร้างขึ้นอย่างงดงาม จัดเป็นเกาะที่เล็กที่สุดในประเทศไทย
ทำความรู้จัก เกาะโลซิน
โลซิน หรือ เกาะโลซิน เป็นเกาะเล็กๆ ที่ขึ้นอยู่กลางทะเล ในจังหวัดปัตตานี ภาคใต้ของประเทศไทย ที่มีความสวยงาม และน่าหลงใหลมาก ไม่แพ้ไปกว่า เกาะขายหัวเราะ แลนด์มาร์คจิ๋ว ในจังหวัดตราดเลย อีกทั้ง ทางด้านล่างของเกาะนั้น ยังเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตน้อย - ใหญ่ และความลึกลับที่น่าค้นหาอีกมากมาย
ข้อมูลโดยทั่วไปของ เกาะโลซิน
Ko Losin หรือกองหินโลซิน เป็นเกาะหินปูน หรือภูเขาหินขนาดเล็กที่กองๆ รวมตัวกัน ลอยขึ้นมาเหนือน้ำ 2 - 3 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางของกองหิน ประมาณ 10 เมตร และมีพื้นที่เหนือน้ำ ประมาณเพียง 100 - 120 เมตรเท่านั้น และข้อมูลอื่นๆ โดยทั่วไป ดังนี้ [1]
- เกาะโลซินคิดเป็นพื้นที่ ไม่ถึง 0.01% ของ 320,000 ตร.ม. ในทะเลอ่าวไทย
- มีพื้นที่ใต้น้ำ ประมาณ 50 ตร.ม.
- มีปะการังที่สวยงาม และอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่น้ำตื้น ไปจนถึงน้ำลึก 2 - 10 ม. เกือบๆ 500 ไร่
- พบปะการังชนิดแข็ง 59 ชนิด และปะการังของปลา 116 ชนิด ตั้งแต่ความลึก 10 ม. ถึง 35 ม. ตามแนวปะการัง
ลักษณะของ เกาะโลซิน
ลักษณะของเกาะโลซิน จะเป็นเหมือนกองหิน 1 กอง ที่ทับถมและซ้อนๆ กันหลายๆ ก้อนรวมกัน กลายเป็นเกาะกองหิน 1 ผืนขนาดเล็ก ที่ลอยเหนือน้ำอยู่กลางทะเล โดยไม่มีต้นไม้ หาดชาย หรือสัตว์สิ่งมีชีวิตบนเกาะ จะมีเพียงแต่ ประภาคารส่งสัญญาณเตือนขนาดสูง ของกองทัพเรือ อยู่บนยอดหินเท่านั้น [2]
ข้อมูลและเหตุการณ์สำคัญของเกาะโลซิน
- โลซินใช้อนุสัญญา กรุงเจนีวา ที่ว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ในปี 1958 ให้มีสถานะเป็น เกาะโลซิน ทำให้ประเทศไทยจึงสามารถประกาศสิทธิเขตเศรษฐกิจจำเพาะ จากแนวหน้าน้ำลดบริเวณชายฝั่งออกไปได้ 200 ไมล์ หรือประมาณ 370 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมไปถึงก๊าซธรรมชาติ มาถึง 75 - 80% ด้วย
- 20 ให้หลัง ในปี ค.ศ. 1978 ประเทศไทย และมาเลเซีย ได้ตกลงทำสัญญาร่วมกันใหม่ กลายเป็น Joint Development Area หรือพื้นที่ทางทะเลพัฒนาร่วมกัน ที่สามารถจัดการ และแบ่งผลประโยชน์ได้คนละครึ่ง ถึง 50 ปี ที่ครอบคลุมพื้นที่ 7,250 ตร.ม. [3]
- ในปี 2021 พบซากอวน ขนาด 200 ม. กว้าง 50 ม. และหนัก 800 กก. ที่คาดว่าน่าจะเป็น อวนของคนไทย ปกคลุมที่แนวปะการัง ทำให้สร้างความเสียหาย ต่อสัตว์น้ำ และชีวภาพทางทะเลต่างๆ กินพื้นที่มากกว่า 550 ตร.ม. [4]
มูลค่าของ เกาะโลซิน ทางด้านเศรษฐกิจโดยรวม
เกาะโลซิน ถือได้ว่า เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีความจำเป็น และมีศักยภาพสูงมาก สำหรับทำการประมง และอื่นๆ จากการสำรวจพบว่า มีสัตว์น้ำทะเล ทางเศรษฐกิจมากถึง 47 ชนิด และก๊าซธรรมชาติต่างๆ อีกมากมาย พร้อมกับเป็นเกาะกองหินขนาดเล็ก ที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ทำให้มีนักท่องเที่ยวมากมาย ต่างอยากเข้ามาดำน้ำ ชมพื้นที่ความสวยงามใต้เกาะกองหินพื้นนี้ หากคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ จะได้เป็นตัวเลขโดยประมาณ ดังนี้
- มูลค่ารวม ทางด้านผลผลิตประมง อยู่ที่ 151,349,643 ล้านบาท
- มูลค่ารวม ทางด้านกิจกรรมดำน้ำอยู่ที่ 3,693,450 บาท
ที่มา: ภัยคุกคาม [5]
เหตุใด เกาะโลซิน ถึงห้ามทำการประมง
เกาะโลซิน ถือเป็นพื้นที่ประมงก็จริง แต่ไม่สามารถทำการประมงได้ ไม่ว่าจะเป็นอวน หรือลอบ เนื่องจาก จัดเป็นพื้นที่คุ้มครอง และเป็นแหล่งอาศัย ของสัตว์น้ำหายากทางทะเล ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ และสัตว์น้ำคุ้มครองต่างๆ อาทิเช่น ปลากระเบนนก ปลากระเบนราหู เต่ากระ เต่าตนุ ปลาโรนัน หรือปลาฉลามวาฬ และปะการังต่างๆ อื่นๆ อีกมากมาย
โทษของการบุกรุกล้ำ เกาะโลซิน
เป็นที่รู้ๆ กันดีอยู่แล้วว่าเกาะโลซิน ไม่อนุญาตให้ทำการประประมงอย่างลอบ และอวน หากฝ่าฝืน จะมีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สรุป เกาะโลซิน
เกาะโลซิน หรือกองหินโลซิน เป็นเกาะที่เล็กที่สุดในประเทศไทย อยู่ที่จังหวัดปัตตานี มีขนาดพื้นที่บนผิวเหนือน้ำ เพียงแค่ราวๆ ประมาณ 100 เมตร และพื้นที่ใต้น้ำแค่ 50 ตารางวา แต่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย ชีวทางทะเล ที่เป็นแหล่งเศรษฐกิจมากมายมหาศาล ทำให้เกาะแห่งนี้ มีมูลค่าสูง ที่ไม่อาจสามารถตีเป็นตัวเลข หรือประเมินค่าได้
อ้างอิง
[1] MGR ONLINE. (September 22, 2021). รู้จัก “เกาะโลซิน” เกาะแสนล้านสุดอ่าวไทย ที่หวังว่าจะได้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลแห่งใหม่. Retrieved from mgronline
[2] คมชัดลึก. (April 7, 2024). 'เกาะโลซิน' เกาะเล็กที่สุดใน ประเทศไทย แต่ทำไม มีราคาแสนล้าน Rudraaksha Bead. Retrieved from komchadluek
[3] Thai PBS. (February 7, 2024). "เกาะโลซิน" ตัวอย่างเปลี่ยนการพิพาทเป็นข้อตกลงร่วมสร้าง "ก๊าซธรรมชาติ" ให้ไทย. Retrieved from thaipbs
[4] วิกิพีเดีย. (September 26, 2023). เกาะโลซิน. Retrieved from wikipedia
[5] พื้นที่คุ้มครอง ทช. "เกาะโลซิน". (2013-2024). ภัยคุกคาม. Retrieved from projects.dmcr