มัสกราไวท์ (Musgravite) หรือชื่อเรียกใหม่ว่า Magnesiotaaffeite-6N’3S หนึ่งในแร่ตระกูลเบริลเลียม ที่มีเฉดสีเป็นเอกลักษณ์ ด้วยความงามของสีเขียวอมเทา ทนทาน และเป็นแร่หายาก 1 ใน 10 ที่ราคาแพงกว่าเพชร
ซึ่งในปัจจุบัน มีข้อมูลว่า ขุดพบแร่คุณภาพ Premium เพียงแค่ 8 ชิ้นในโลก และมีการพบผลึกไม่ถึงร้อย จึงเป็นเหตุผลให้ เป็นสิ่งที่ท้าทาย ของทั้งนักสะสม และตลาดซื้อ-ขาย เพราะไม่ว่าใคร ก็อยากเป็นเจ้าของ
ย้อนประวัติแร่ มัสกราไวท์ พบครั้งแรกที่ใด
มัสกราไวท์ ถูกพบครั้งแรก เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1967 บนเทือกเขา Musgrave ประเทศออสเตรเลีย โดยทีมนักธรณีวิทยา และมีการอธิบายแน่ชัด ในระหว่างปี 1933-2000
จากนั้นเมื่อปี 2006 ได้รับการยืนยันประมาณ 20 ชิ้น ซึ่งการระบุ 15% มาจากนักอัญมณีศาสตร์ Murray Burford ชาวเยอรมนี หลังจากนั้น ในปี 2005 มีการขุดพบครั้งใหม่ ในประเทศกรีนแลนด์, ศรีลังกา, มาดากัสการ์ แทนซาเนีย
และจนถึงปี 2007 ก็มีข่าวใหญ่ในวงการอัญมณี เมื่อ Gubelin Gem Lab แห่งสวิตเซอร์แลนด์ รายงานว่าค้นพบ แร่มัสกราไวท์ขนาดใหญ่ สีม่วงอมเทา น้ำหนัก 16.05 กะรัต และขายออกในราคา $800,000 ในปี 2021
ที่มา: Musgravite Meaning & History [1]
ลักษณะ มัสกราไวท์ แร่นี้หน้าตาเป็นแบบไหน
การปรากฏของ มัสกราไวท์ โดยทั่วไปจะมีตั้งแต่ไร้สี ไปจนถึงมีสีทึบ แต่สีที่น่าดึงดูด และมูลค่าสูง คือสีเทาอมเขียว (Greenish-Gray) มีโครงสร้างคริสตัล 6 เหลี่ยม โปร่งใสถึงโปร่งแสง มีความทนทาน ระดับดีเยี่ยม
อธิบายเกี่ยวกับ มัสกราไวท์ จากคุณสมบัติเฉพาะ
- ประเภทแร่ : เบริลเลียมอะลูมิเนียมออกไซด์
- สี : เขียวมะกอก, น้ำเงินอมเขียวเข้ม, ม่วงอ่อน-เข้ม, เทาอมเขียวเข้ม, ไม่มีสี
- ความมันวาว : แก้วตา
- ความโปร่งใส : โปร่งใส-โปร่งแสง
- การแตกหัก : Platy
- ระดับความแข็งของ Mohs : 8-8.5
- ความหนาแน่น : 3.68
- ผลึกคริสตัล : ตรีโกณมิติ – สเกลโนฮีดรัล 6 เหลี่ยม
- ความเหนียว : เปราะบาง
- สูตรทางเคมี : (Mg,Fe2+,Zn)2Al6BeO12
ที่มา: Musgravite [2]
การเกิดขึ้นของ มัสกราไวท์ ทางธรณีวิทยา
การก่อตัวของแร่ มัสกราไวท์ เกิดขึ้นภายใต้เปลือกโลก ที่มีอุณหภูมิ และความดันรุนแรง แล้วแปรสภาพเป็นหินเพกมาไทต์ ซึ่งประกอบไปด้วย แมกนีเซียม, เบริลเลียมอะลูมิเนียม, ออกซิเจน
และยังพบธาตุเหล็ก รวมไปถึงสังกะสี ในอัตราที่สูง นอกจากนี้ ยังอาจมีแคลเซียม แกลเลียม และแมงกานีส ซึ่งเป็นแร่ธาตุหลัก ในการกำหนดสี
โดย Musgravite จะมีหน้าตาคล้ายทาฟเฟต์ ที่พบในไอแลนด์ และมักถูกเข้าใจผิด ว่าเป็นแร่สปิเนล ซึ่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแร่ อ่านต่อได้ที่ Taaffeite
ความแตกต่างของ มัสกราไวท์ และ ทาฟเฟต์
สิ่งที่ทำให้แร่ มัสกราไวท์ และทาฟเฟต์ แตกต่างกัน สามารถดูได้จาก ข้อมูลหลักๆ ได้แก่ ระบบคริสตัล ซึ่งทาฟเฟต์ตกผลึก เป็นรูปทรง 6 เหลี่ยม ในขณะที่ Musgravite ส่วนใหญ่ตกผลึกเป็นทรงตรีโกณมิติ
การใช้งาน มัสกราไวท์ และมูลค่าในตลาด
การใช้งานของแร่ มัสกราไวท์ ลักษณะคล้ายๆ Serendibite แร่ล้ำค่าจากศรีลังกา คือมักนำไปทำเครื่องประดับ หรือเป็นสิ่งของสะสม เสริมบารมี ในกลุ่มคนฐานะหรูหรา ซึ่งน้ำหนักที่ใหญ่สุดในปัจจุบัน คือ 214 กะรัต
และจากข้อมูลประวัติ ราคาขายในตอนนั้น ตีเป็นเงินไทยราวๆ 30 ล้านบาท ส่วนมูลค่าตอนนี้ หากมาจากแหล่งคุณภาพ อาจมีราคาประมาณ 35,000 ดอลลาร์ต่อกะรัต หรือราว 1,296,330 บาท [3]
สรุป มัสกราไวท์
มัสกราไวท์ อัญมณีหายากเป็นพิเศษ ที่สะท้อนถึงความงดงาม หรูหรา และสีสันที่ดึงดูดใจ จึงไม่แปลกใจ ที่นักสะสมทั้งหลาย รวมไปถึงผู้ค้าเพชรพลอย จะเทหมดหน้าตัก เพื่อให้ได้มาถือครอง
อ้างอิง
[1] Gem Rock Auctions. (2004-2024). Musgravite Meaning & History. Retrieved from gemrockauctions
[2] National Gem Lab. (2024). Musgravite. Retrieved from nationalgemlab
[3] Caldera Gem. (October 23, 2023). Top 10 Expensive Stones In The World. Retrieved from calderagem