พืชสมุนไพร พืชหลากหลายชนิด แหล่งผลิตผลทางธรรมชาติ โดยมีความสำคัญต่อสุขภาพ ทั้งด้านการบริโภค การบำบัดรักษาโรค และการบรรเทาอาการ รวมถึงใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เครื่องหอมในรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ส่งผลดีแก่ระบบในร่างกาย การบำรุงผิวพรรณ เรียกว่าตั้งแต่ภายในสู่ภายนอก
ย้อนรอยประวัติเก่าแก่ พืชสมุนไพร
พืชสมุนไพร (Medicinal Plants) พืชพรรณสมุนไพรจากธรรมชาติ ถูกค้นพบและนำมาใช้ เป็นยาแผนโบราณ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 3,000 ปีก่อน โดยมีการบันทึกสูตรยา มากกว่า 1,000 สูตร จากสมุนไพรรวมกว่า 600 ชนิด และเป็นยาพื้นบ้าน แพร่หลายในสังคม มีราคาถูกกว่ายาแผนปัจจุบัน
พืชพรรณและเครื่องเทศต่าง ๆ ยังถูกนำมาปรุงอาหาร เพื่อการต่อต้านแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของอาหารเน่าเสีย โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน โดยพืชดอกมีแหล่งเพาะปลูกจำนวนมาก มักถูกนำมาทำเป็นยาสมุนไพร และเครื่องดื่ม เพื่อการรักษาโรค และการรักษาสุขภาพ [1]
สารและชนิดของ พืชสมุนไพร
สมุนไพรมากมายในธรรมชาติ ต่างมีวิวัฒนาการของการผลิตสาร อย่างเช่น การป้องกันสัตว์กินพืช อาจมีรสชาติขมหรือเป็นพิษ และสามารถป้องกันปรสิตได้อีกด้วย ยกตัวอย่างสารจากพืช ดังต่อไปนี้
- อัลคาลอยด์ (Alkaloids) : สารให้ความขม มักเป็นพิษ พบทั่วไปในพืชและสมุนไพรหลายชนิด โดยมีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกัน เพื่อความผ่อนคลาย และใช้ในกลุ่มยาของเภสัชกรรม
- ไกลโคไซด์ (Glycosides) : สารกระตุ้นระบบการขับถ่าย ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ และทำหน้าที่เป็นยาขับปัสสาวะ นิยมทำเป็นยาออกฤทธิ์แรง
- โพลีฟีนอล (Polyphenols) : ประกอบด้วยสารหลายชนิด ช่วยป้องกันโรคพืช และศัตรูพืช รวมถึงการรักษาโรคทางนรีเวช ทั้งแก้ปัญหาการเจริญพันธุ์ การมีประจำเดือน และใช้ในวัยหมดประจำเดือน พบมากในเมล็ดองุ่น มะกอก และเปลือกสนทะเล
- เทอร์พีน (Terpenes) : ถูกพบอยู่ในพืช และสมุนไพรหลายชนิด มีกลิ่นหอมแรง ช่วยขับไล่พวกสัตว์กินพืช นิยมใช้ทำน้ำมันหอมระเหย และน้ำหอม หรือบางชนิดใช้เพื่อสรรพคุณทางยา สำหรับการฆ่าเชื้อโรค และใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
ชนิดพืชพรรณสมุนไพร ประกอบด้วย พืชไม้ล้มลุก พืชไม้พุ่ม พืชไม้ยืนต้น และพืชไม้เถา โดยจำแนกเป็นรูป รส กลิ่น และสี คือ รูป (ใบ ดอก เปลือก แก่น กระพี้ ราก และเมล็ด), รสชาติ (จืด ฝาด ขม เค็ม หวาน เปรี้ยว เผ็ดร้อน และเย็น), กลิ่น (หอม เหม็นหรือฉุน) และสี (เขียว เหลือง ส้ม แดง ม่วง น้ำตาล) เป็นต้น [2]
รูปแบบ พืชสมุนไพร สำหรับยา
สมุนไพรเป็นส่วนผสมมาจากพืช สำหรับการบริโภค หรือยารักษาตามแผน สามารถแบ่งรูปแบบได้ดังนี้
- ยาประเภทของเหลว : จากวิธีการหั่นต้นแล้วต้มน้ำ การคั่วชงกับน้ำ และน้ำคั้นสมุนไพรสด
- ยาประเภทของแข็ง : ยาปั้นลูกกลอน จากการหั่นต้นเป็นแว่นบาง ๆ ตากแดด และบดเป็นผง
- ยาประเภทของแข็งกึ่งเหลว : มักเป็นยาใช้สำหรับภายนอก อาทิเช่น ยาพอก
- ยาประเภทลักษณะพิเศษ : จากการรมควัน เพื่อรักษาโรคทางเดินหายใจ หรือรักษาบาดแผล
ที่มา: สมุนไพร [3]
ตามรอย พืชสมุนไพร 10 ชนิด มีดีมากกว่าที่คิด
รวมพืชผักและสมุนไพรมากมาย ที่ชาวบ้านนิยมนำมาประกอบอาหาร เครื่องดื่ม อาหารเสริม ยาบำบัดรักษาโรค รวมถึงใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม และเครื่องสำอาง มีทั้งชนิดเพาะปลูกง่าย ควรมีไว้ติดบ้าน และชนิดค่อนข้างหายาก ล้วนให้คุณประโยชน์ และคุณค่าทางโภชนาการหลากหลาย
พืชผักสามัญประจำบ้าน
- น้ำมันมะกอก : น้ำมันสกัดจากต้นมะกอก พืชไม้ชนิดยืนต้น จากแถบเมดิเตอร์เรเนียน มีกรดไขมันดีมากถึง 83% สามารถกินได้ทันที และแบบผ่านความร้อน ให้พลังงานทั้งหมด 119 กิโลแคลอรี
- ต้นอ่อนทานตะวัน : ต้นอ่อนอายุ 1 สัปดาห์ พืชชนิดล้มลุกขนาดใหญ่ ถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง นิยมบริโภคต้นอ่อนและเมล็ด แหล่งรวมโปรตีน ใยอาหาร และวิตามิน
- สะระแหน่ : พืชพันธุ์ผสมชนิดไม้ล้มลุก กำเนิดในยุโรป และเมดิเตอร์เรเนียน มีมากกว่า 25 ชนิด สามารถทำอาหารคาวหวาน เครื่องดื่มผลไม้ และน้ำมันหอมระเหย สรรพคุณเพื่อความผ่อนคลาย
- ผักชีลาว : สมุนไพรชนิดไม้ล้มลุก แหล่งกำเนิดในแอฟริกาเหนือ กินได้ตั้งแต่รากถึงยอดอ่อน นิยมนำมาประกอบอาหารอีสาน และอาหารพื้นเมือง โดยมีส่วนช่วยบรรเทาอาการ จากอาหารเป็นพิษ
- ใบบัวบก : พืชสมุนไพรไม้ล้มลุก อยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำเขตร้อน ถูกทำเป็นยาสมุนไพรตามตำรับยาโบราณ คั้นน้ำเป็นเครื่องดื่มแก้กระหาย และสรรพคุณเด่น ด้านการบำรุงสมองจดจำดี
สมุนไพรกลิ่นสีเฉพาะตัว
- เมล็ดกัญชง : เมล็ดจากต้นกัญชง ชนิดไม้ล้มลุก กระจายสายพันธุ์ทั่วโลก ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง นิยมผลิตเป็นน้ำมันเมล็ดกัญชง เพื่อการบริโภค และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพผิว
- โรสแมรี : พืชชนิดไม้พุ่ม และชนิดไม้เลื้อย ถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ออกดอกหลายสี มีกลิ่นหอม นิยมทำเป็นน้ำมันหอมระเหย ยารักษา ตกแต่งอาหาร และปลูกเป็นไม้ประดับ
- ลาเวนเดอร์ : พืชดอกสีม่วง ชนิดไม้ยืนต้น พบมากในพื้นที่แห้งแล้ง และเขตอบอุ่น กลิ่นหอมสดชื่น ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องหอม ส่วนผสมเครื่องสำอาง น้ำมันหอมระเหย และปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม
- พริกไทยเสฉวน : เครื่องเทศฮวาเจียว จากประเทศจีน ให้รสชาติเผ็ดร้อนชาลิ้น กลิ่นหอมแรง ใช้ในการประกอบอาหาร และเป็นยาสมุนไพร ช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดลมได้ดี
- ส้มซ่า : พืชยืนต้นผลสีส้มเหลือง แหล่งกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีกลิ่นหอมฉุน รสชาติหวานอมเปรี้ยว ถูกนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร น้ำมันหอมระเหย ปรุงแต่งกลิ่นและรสชาติอาหาร
สรุป พืชสมุนไพร “Medicinal Plants”
พืชสมุนไพร พืชผลผลิตจากธรรมชาติ สามารถหาได้ใกล้ตัว เหมาะสำหรับเป็นยาแผนโบราณ ถูกใช้งานมาตั้งแต่สมัยก่อนนานกว่า 3,000 ปี สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการ บำบัดรักษาโรค และนิยมทำเมนูอาหารหลากหลาย รับประทานง่าย ล้วนส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย ให้ประโยชน์มากกว่าที่เห็น
อ้างอิง
[1] wikipedia. (October 1, 2024). Medicinal Plants. Retrieved from wikipedia
[2] moac. (January 16, 2023). ยาสมุนไพรปลอดภัยเมื่อใช้ถูกหลัก. Retrieved from moac
[3] rama.mahidol. (2015-2024). สมุนไพร. Retrieved from rama.mahidol