ผักโขม ผักที่เราเห็นและคุ้นหูกันมาตั้งแต่เด็ก แต่อาจเป็นผักที่หลายคน ต้องบอกว่าได้ยินชื่อ ก็ไม่อยากกินแล้ว เพราะคิดว่ามีรสชาติขมมากแน่ ๆ ว่าแต่ใครเคยลองกินบ้าง เราจะพามาไขข้อสงสัย ผักโขมรสขมจริงหรือไม่ ควรกินกับอะไรถึงอร่อย และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
ผักโขม ผักยอดฮิตคนไม่ชอบผักยังกินได้
ผักโขม (Spinach) ผักใบเขียวมีดอก จัดอยู่ในวงศ์ Amaranthaceae ถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียกลาง และทวีปเอเชียตะวันตก สามารถพบเห็นได้บ่อย ในแหล่งธรรมชาติ อย่างเช่น ป่าละเมาะ ป่ารกทึบ หรือริมทาง
เพราะเป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย และในช่วงปี 2022 มีการผลิตผักโขมทั่วโลกกว่า 33 ล้านต้น โดยในประเทศจีน เป็นฐานการผลิตรายใหญ่ คิดเป็นอัตรา 93% ของทั้งหมด [1]
อธิบายลักษณะทั่วไป ผักโขม
พืชไม้ล้มลุกชนิดมีดอก แต่ออกดอกน้อยตลอด 2 ปี โดยลำต้นมีความสูง ประมาณ 30 เซนติเมตร ลักษณะใบเรียบรูปสามเหลี่ยม สีเขียวอมเหลือง เรียงใบสลับกัน ความกว้างใบ 1 – 15 เซนติเมตร และความยาวใบ 2 – 30 เซนติเมตร ทั้งยังมีเมล็ดขนาดเล็กหลายเมล็ด แห้งและแข็งเป็นก้อน
รสชาติผักโขม มีรสขมจริงหรือไม่? ตามความเป็นจริงแล้วเป็น ผักพื้นถิ่น ที่ไม่มีรสชาติขมเลยแม้แต่น้อย ซึ่งผักโขมจะมีรสชาติหวาน รับประทานง่าย นิยมนำมาประกอบอาหารหลายเมนู แต่อาจเรียกเพี้ยนไปเป็นผักขม มักถูกเรียกในภาคกลางเท่านั้น ส่วนชื่ออื่นอาจเป็น ผักโหม ผักหม และผักเกลี้ยง
ต้นกำเนิดและสารอาหาร
ประวัติความเป็นมาของผัก โขม เชื่อกันว่ากำเนิดมาตั้งแต่ 2,000 ปีก่อน ในช่วงยุคเปอร์เซียโบราณ ต่อจากนั้นก็ถูกนำเข้ามา ในประเทศอินเดีย และประเทศจีนในปี ค.ศ. 647 เรียกกันว่า “ผักเปอร์เซีย” หลังจากนั้นก็ถูกเรียกเป็น ผักโขมครั้งแรก ในประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส ได้รับความนิยมอย่างมากในตำราอาหาร
สารอาหารในผักโขมดิบ 100 กรัม ประกอบด้วย น้ำ 91% คาร์โบไฮเดรต 4% โปรตีน 3% และไขมันเพียงเล็กน้อย โดยให้พลังงาน 23 แคลอรี ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะผักสดแช่แข็ง หรือผ่านการต้มแบบรวดเร็ว เป็นแหล่งอาหารสมบูรณ์กว่า 20% เต็มไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุมากมาย
ความรู้เพิ่มเติม ผักโขม ผักกินง่ายมีคุณค่าสูง
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับผักโขม หลายคนน่าจะเคยดู การ์ตูนป๊อปอาย รู้หรือไม่ว่า ผักที่ป๊อปอายกินเพิ่มพลังเป็นประจำ ไม่ใช่ผักโขม! เพราะผักโขมควรต้ม หรือปรุงสุกก่อน แท้จริงแล้วเป็น “ผักปวยเล้ง (Spinach)” แน่นอนว่ามีลักษณะ กับสรรพคุณค่อนข้างคล้ายกัน จนอาจถูกเข้าใจผิด คิดว่าเป็นผักชนิดเดียวกัน
สรรพคุณและโทษ ผักโขม
รวมประโยชน์จากผักโขม บำรุงสุขภาพดีต่อร่างกาย ช่วยลดการเกิดโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ลดน้ำหนักและความอ้วน : ผักชนิดกินอิ่มเร็วและอยู่ท้องนาน ช่วยชะลอการดูดซึมไขมันในร่างกาย และสารซาโปนิน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
- บรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน : ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อช่องท้อง
- บำรุงน้ำนมคุณแม่หลังคลอด : ช่วยเพิ่มน้ำนม ของแม่ลูกอ่อนที่มีน้ำนมน้อย รวมถึงวิตามิน A และ วิตามิน C ช่วยให้นมแม่มีสภาพสมบูรณ์ ส่งผลต่อสุขภาพของทารกแข็งแรงมากขึ้น
- ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง : มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งรังไข่ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
- กระตุ้นระบบขับถ่าย : จากไฟเบอร์สูง หรือกากใยอาหารจำนวนมาก ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายได้ดี
- บำรุงสุขภาพของดวงตา : วิตามิน A ค่อนข้างสูง ช่วยป้องกันความเสื่อมของดวงตา
- ป้องกันภาวะเลือดไหลไม่หยุด : ในผู้มีปัญหาเลือดออกตามไรฟันบ่อยครั้ง จำเป็นต่อการกิน เพราะมีวิตามิน C และ วิตามิน K ช่วยป้องกันให้เลือดไหลน้อยลงได้
โทษจากผักโขม หากรับประทานไม่ถูกวิธี หรือในปริมาณมากเกินไป อาจให้โทษกับร่างกาย ดังนี้
- ขัดขวางการดูดซึม ของแคลเซียมและธาตุเหล็ก
- อาจก่อให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร แก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องอืด และเป็นตะคริว
- สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคนิ่ว โรคเกาต์ และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไม่ควรรับประทาน เพราะเป็นกลุ่มผู้ที่มีการสะสม ปริมาณแคลเซียมในร่างกาย
- กลุ่มคนรับประทานยา ต้านการแข็งตัวของเลือด อาทิเช่น Aspirin และ Warfarin ควรหลีกเลี่ยง เพราะสารในผักโขม จะเข้าไปต้านการออกฤทธิ์ของยา เสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
ที่มา: ผักโขมประโยชน์ สรรพคุณ [2]
ผักโขม กินคู่กับอาหารอะไรดี?
ผักโขมที่รสชาติไม่ขม ทำอาหารได้หลายอย่าง ทั้งคาวและหวาน เมนูไหนก็อร่อยทานง่าย ไม่ว่าจะเป็น ผักโขมอบชีส ลาซานญ่าผักโขม ไข่ตุ๋นนมสดผักโขม คีชทูน่าผักโขม เปาะเปี๊ยะทอดผักโขมอบชีส เกี๊ยวทอดไส้ผักโขมแฮมชีส ซุปผักโขม และน้ำผักโขม [3] หาซื้อง่ายและราคาถูกเพียง กองละ 10 – 15 บาท
ข้อแนะนำการรับประทาน ไม่ควรทานผักโขมดิบ และไม่ควรทานคู่กับ อาหารที่มีแคลเซียมกับธาตุเหล็ก เนื่องจากในผัก มีกรดออกซาลิก (Oxalic Acid) ค่อนข้างสูง ออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึม ของแคลเซียมกับธาตุเหล็ก ที่ส่งผลทำให้ร่างกาย ไม่สามารถดูดซึมไปใช้งานได้ จึงต้องเจือจางด้วยความร้อนก่อน
สรุป ผักโขม “Spinach”
ผักโขม ผักใบเขียวไม่มีรสขม แต่มีรสหวานทานง่ายมาก แหล่งกำเนิดในทวีปเอเชีย มักนำมาประกอบอาหารคาวและหวาน รวมถึงเครื่องดื่ม มีสรรพคุณทางยาดี แนะนำว่าไม่ควรกินดิบ ต่างจาก ต้นอ่อนทานตะวัน ที่สามารถกินสด ๆ ได้ เพราะในทางกลับกัน ผักโขมจะให้โทษกับร่างกาย ควรผ่านการปรุงสุกเสมอ
อ้างอิง
[1] wikipedia. (October 8, 2024). Chinese New Year. Retrieved from wikipedia
[2] sgethai. (February 19, 2024). ผักโขมประโยชน์ สรรพคุณ. Retrieved from sgethai
[3] kapook. (2024). 11 เมนูจากผักโขม. Retrieved from cooking.kapook