บุกซากศพ พืชสุดแปลก ที่ไม่คิดว่าจะมีอยู่บนโลกใบนี้จริง เป็นบุกหายาก ที่ถูกค้นพบในปี 1878 มีขนาดใหญ่ที่สุด ในบรรดาตระกูลบุกทั้งหลาย มีดอกเป็นแท่งยาว รูปร่างคล้ายกับองคชาต พร้อมกับมีกลิ่นเหม็นรุนแรง ที่โดดเด่น ชวนคลื่นไส้ ชูความเป็นเอกลักษณ์มาก ปัจจุบันถูกขึ้นบัญชี เป็น 1 ในพืชพรรณของโลก ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว
บุกซากศพ คืออะไร
บุกซากศพ [1] หรือ ดอกซากศพ คือ 1 ใน 3 ของพืชบุกหายาก ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว คาดการณ์ว่า น่าจะเหลือเพียงไม่ถึง 1,000 ต้น ในป่าธรรมชาติเท่านั้น โดยบุกชนิดนี้ มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Amorphophallus Titanum เป็นพืชล้มลุก สกุลบุก บัวผุด หรือพืชเชิงเดี่ยว
ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สูงมากกว่า 3.5 ถึง 4.6 เมตร [2] น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ มากถึง 130 กิโลกรัม ออกดอกยากมาก ทั้งชีวิตจะออกดอกแค่เพียง 3 - 4 ครั้ง เท่านั้น แต่หากเป็นพืชบุกเพาะเลี้ยง โดยทั่วโลก ออกดอกไม่เกิน 100 ครั้ง
ระยะเวลาการเติบโตของ บุกซากศพ
ในทุกๆ การเจริญเติบโตของ บุกซากศพ หรือดอกซากศพนี้ จะต้องใช้เวลา 5 - 7 ปี และ 7 - 10 ปี ถึงจะออกแค่ดอก 1 - 2 ครั้ง เมื่อออกดอกแล้ว ก็จะเผยโฉมให้ชม และดมกลิ่น เพียงแค่ 1 - 2 วันเท่านั้น สีของใบก็ จะเปลี่ยนจากสีเขียว เป็นสีม่วงเข้ม พร้อมกับมีอุณหภูมิ ที่สูงขึ้นราวๆ 36 องศา เหมือนกับอุณหภูมิ ในร่างกายของมนุษย์ เพื่อเป็นสัญญาณว่า พร้อมที่จะส่งกลิ่นเหม็นแล้ว
ซึ่งกลิ่นของมันนั้น จะมีกลิ่นที่เหม็นเน่ามาก กลิ่นฉุนแรง คล้ายๆ กับซากพืช ซากสัตว์ ของสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว แต่ทว่ากลิ่นที่เหม็นของมันนี้ กลับเป็นกลิ่นที่หอมหวาน สำหรับแมลง และสัตว์บางประเภท
บุกซากศพ สามารถพบได้ที่ไหน
ถิ่นกำเนิดอาศัยของบุกยักษ์ หรือบุกซากศพนี้ เดิมทีจะพบขึ้นอยู่ที่เขตป่าร้อนชื้น ของเกาะ Sumatra [3] ในประเทศอินโดนีเซีย เป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบัน เพื่อเป็นการรักษา พืชบุกชนิดดังกล่าวนี้ ไม่ให้สูญพันธุ์ ได้มีการกระจาย การเพาะเลี้ยง ไปยังประเทศต่างๆ อาทิเช่น จีน [4] สหรัฐอเมริกา เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ [5] และประเทศไทย เป็นต้น
** บุกซากศพ หรือดอกซากศพ ในประเทศไทยนั้น สามารถหาชมได้ที่สวนนงนุช [6] พัทยา จังหวัดชลบุรี
ทำไม บุกซากศพ จะต้องส่งกลิ่นเหม็นออกมา
สาเหตุที่ บุกซากศพ หรือ ดอกซากศพนั้น ส่งกลิ่นเหม็นออกมา ก็เพื่อเป็นการดึงดูดแมลง หรือสัตว์เล็กๆ มาผสมเกสร เพื่อขยายพันธ์ุตามธรรมชาติของมัน
ซึ่งกลิ่นเหม็น ที่บุกชนิดดังกล่าวนี้ ปล่อยออกมานั้น ก็คือ แก๊สสังเคราะห์ ที่มีสารเคมีมากกว่า 100 ชนิด โดยมี Hydrocarbon [7] และ Sodium Sulfite [8] เป็นส่วนประกอบหลัก ที่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นเน่า คล้ายซากศพ ที่ฉุนรุนแรงนี้
สรุป บุกซากศพ (Titan Arum)
บุกซากศพ หรือที่เรียกว่า บุกยักษ์ ดอกซากศพ เป็นพืชแปลกหายาก ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมกับมีกลิ่น ที่เหม็นเหมือนกับสิ่งมีชีวิต เนื้อเน่า หรือซากศพ โดยปัจจุบัน ถูกจัดเป็นพืชใกล้สูญพันธุ์ที่ได้มีการอนุรักษ์แล้ว ร้อยละ90% สามารถพบได้ที่ประเทศอินโดนีเซีย
อ้างอิง
[1] วิกิพีเดีย. (April 27, 2023). ดอกบุกยักษ์. Retrieved from wikipedia
[2] LIVESCIENCE. (October 27, 2021). Corpse Flower: Facts about the smelly plant. Retrieved from livescience
[3] WIKIPEDIA. (March 11, 2024). Sumatra. Retrieved from wikipedia
[4] MGR ONLINE. (July 9, 2022). ตื่นตา “ดอกซากศพ” เจ้าของกลิ่นเหม็นราวศพเน่าเปื่อย. Retrieved from mgronline
[5] 7 HD. (March 10, 2023). ดอกไม้ซากศพบานสะพรั่งในเนเธอร์แลนด์. Retrieved from news.ch7
[6] KAPOOK. (2024). 10 ปี จะเห็นสักครั้ง ดอกซากศพ บาน ที่สวนนงนุช พัทยา. Retrieved from hilight.kapook
[7] วิกิพีเดีย. (January 27, 2022). ไฮโดรคาร์บอน. Retrieved from wikipedia
[8] วิกิพีเดีย. (December 6, 2023). โซเดียมซัลไฟต์. Retrieved from wikipedia