ข้าวโพดหวาน ธัญพืชรสชาติหวาน แหล่งรวมสารอาหารจำเป็นต่อร่างกาย เชื่อกันว่าใครก็ชอบกินข้าวโพด เพราะนอกจากจะกินง่าย ประกอบอาหารมีกลิ่นหอมแล้ว ยังช่วยบำรุงสุขภาพ และต้านโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เราจะพามารอบรู้เรื่องของข้าวโพด อาหารถูกปากของคนทั่วโลก
ทำความรู้จัก ข้าวโพดหวาน พืชเศรษฐกิจ
ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) พันธุ์ข้าวโพดปลูกสำหรับการบริโภค โดยมีน้ำตาลปริมาณค่อนข้างสูง เกิดจากการกลายพันธุ์แบบด้อยตามธรรมชาติ เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แบ่งเป็นข้าวโพด 7 ประเภท คือ Dentcorn, Flintcorn, Sweetcorn, Popcorn, Waxycorn, Flourcorn และ Podcorn [1]
เผยต้นกำเนิด ข้าวโพดหวาน
ตามประวัติศาสตร์ในช่วงปี ค.ศ. 1493 นักสำรวจเดินเรือ Christopher Columbus เดินทางกลับมายังทวีปยุโรป พร้อมกับเมล็ดข้าวโพด คาดว่าปลูกโดยชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกัน จนกลายเป็นอาหารยอดนิยม ในสหรัฐอเมริกา เริ่มพัฒนาสายพันธุ์ เป็นข้าวโพดหวานสีขาวพันธุ์ผสม และวางจำหน่ายอย่างแพร่หลาย
ลักษณะและคุณค่าทางโภชนาการ
ต้นข้าวโพดเป็นไม้ล้มลุก จำพวกหญ้า ลักษณะลำต้นอวบกลม ความสูง 1 – 4 เมตร ส่วนใบเป็นใบเดี่ยว เรียวยาวและปลายแหลม ส่วนดอกเป็นช่อ บริเวณยอดเกสร มีหนวดข้าวโพดจำนวนมาก เมื่อดอกเติบโตแล้ว จะกลายเป็นผลข้าวโพดเป็นฝัก พร้อมเมล็ดเรียงกัน 8 แถว แต่ละแถวมี 30 เมล็ด สีสันแตกต่างกันตามสายพันธุ์
คุณค่าทางโภชนาการข้าวโพดหวาน 100 กรัม มอบพลังงานแก่ร่างกาย 86 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม, แป้ง 5.7 กรัม, น้ำตาล 6.26 กรัม, ใยอาหาร 2 กรัม, ไขมัน 1.35 กรัม, โปรตีน 3.27 กรัม รวมถึงกรดอะมิโน 17 ชนิด วิตามิน และแร่ธาตุอีกมากมาย [2]
ข้าวโพดหวาน ผลิตภัณฑ์แปรรูปหลากหลาย
การแปรรูปของข้าวโพดหวาน อย่างที่ทราบกันดีว่า ใช้รับประทานเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ยังสามารถเป็นผลิตภัณฑ์ได้อีกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น แป้งข้าวโพด น้ำมันข้าวโพด น้ำเชื่อมข้าวโพด เหล้าข้าวโพด เบียร์ข้าวโพด หรือแม้กระทั่งสบู่ เครื่องสำอาง และน้ำยาทำความสะอาด
คุณประโยชน์ ข้าวโพดหวาน
ข้าวโพดหวานแต่ละชนิด มีสารอาหารจำเป็นกับร่างกาย และช่วยป้องกันโรคได้ ดังต่อไปนี้
- สารต้านอนุมูลอิสระ : ช่วยป้องกันและยับยั้ง ความเสียหายของเซลล์ ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง หรือโรคหลอดเลือด เป็นต้น โดยข้าวโพดหวานที่นิยมรับประทาน จะมีกรดเฟอรูลิก (Ferulic Acid) สารแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซีแซนทิน (Zeaxanthin) ลูทีน (Lutein) คริปโตแซนทิน (Cryptoxanthin) และเบต้าแคโรทีน (Beta Carotene)
- วิตามิน A : ปริมาณวิตามิน A ค่อนข้างสูง กว่าธัญพืชชนิดอื่นถึง 10 เท่า ช่วยบำรุงสุขภาพดวงตา เพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น และลดการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม
- เส้นใยอาหาร : มีปริมาณเส้นใยอาหารสูง และเป็นเส้นใยชนิดไม่ละลายน้ำ จึงช่วยกระตุ้นระบบการขับถ่ายได้ดี บรรเทาอาการผิดปกติของลำไส้ ป้องกันการเกิดโรคทางเดินอาหาร และป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะจะช่วยเข้าไปลดระดับไขมันไม่ดีในเลือด
ที่มา: ข้าวโพด ประโยชน์เต็มฝัก [3]
ข้าวโพด หวาน ทำเมนูอะไรดี?
อาหารธัญพืช ยอดนิยมของใครหลายคน นำมาประกอบอาหารได้ทั้งอาหารไทย และอาหารต่างประเทศ เมนูง่าย ๆ จากข้าวโพดรสหวาน ทั้งแบบต้ม แบบคั่ว แบบนึ่ง แบบทอด หรือแบบปิ้ง แถมมีราคาถูก เสนอเมนูจากข้าวโพด พร้อมส่วนผสมเบื้องต้น ดังนี้
- เมนูหมูทอดข้าวโพด : เนื้อหมูบด ข้าวโพด รากผักชี ไข่ไก่ วุ้นเส้น และแป้งทอดกรอบ
- เมนูซุปข้าวโพด : นมสด เนย ข้าวโพด หอมหัวใหญ่ ซุปครีมข้าวโพด และแป้งสาลีอเนกประสงค์
- เมนูนมข้าวโพด : ข้าวโพดต้มสุก นมรสจืด น้ำเชื่อม น้ำผึ้งดอกไม้ป่า และเกลือป่น
- เมนูคอร์นชีสโทสต์ : ข้าวโพด แป้งพิซซ่า มายองเนส ขนมปัง พริกไทยดำ เกลือ และน้ำตาลทราย
- เมนูป๊อปคอร์น : เมล็ดข้าวโพดชนิดป๊อปคอร์น เนยเค็ม ถั่วลิสง น้ำตาลทราย และเกลือ
- เมนูสาคูต้นข้าวโพดมะพร้าวอ่อน : เม็ดสาคู มะพร้าวน้ำหอม ลูกข้าวโพด และหัวกะทิ
สรุป ข้าวโพดหวาน “Sweet Corn”
ข้าวโพดหวาน สายพันธุ์ข้าวโพดรสชาติหวาน มีปริมาณน้ำตาลสูง ถูกค้นพบการเพาะปลูกของชนเผ่าพื้นเมือง จากทวีปอเมริกาใต้ สามารถทำอาหารได้หลายเมนู ทั้งอาหารคาวและหวาน หรือผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ เต็มไปด้วยสารอาหารสำคัญ ช่วยบำรุงสุขภาพร่างกาย และต้านการเกิดโรคได้ดี
อ้างอิง
[1] wikipedia. (October 25, 2024). Sweet Corn. Retrieved from wikipedia
[2] medthai. (2023-2024). ข้าวโพด สรรพคุณและประโยชน์ของข้าวโพดหวาน. Retrieved from medthai
[3] pobpad. (2022-2024). ข้าวโพด ประโยชน์เต็มฝัก. Retrieved from pobpad