ตกหลุมอากาศ เหตุการณ์ฉุกเฉินภัยอันตราย ที่สายตาคนเรามองไม่เห็น จากเหตุการณ์ที่ก่อนหน้านี้ สายการบิน Singapore Airlines เที่ยวบิน SQ321 ได้พบเจอกับสถานการณ์ ที่ไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า และไม่มีใครรู้ว่า จะพบเจอกับเหตุการณ์นี้ จนนำไปสู่การสูญเสียผู้โดยสาร 1 ราย บทความนี้จะถอดบทเรียน พร้อมกับวิธีรับมือที่ปลอดภัย
ความหมาย ตกหลุมอากาศ เหตุการณ์ที่ไม่มีแจ้งเตือนล่วงหน้า
คำว่าตกหลุมอากาศ หรือชื่อทางการในภาษาอังกฤษที่ว่า Turbulence คือ ความหนาแน่นของมวลอากาศ เกิดความไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้เกิดแรงลมพัดแรง จนนำไปสู่อากาศปั่นป่วน ที่ตรวจจับได้ยาก ทางด้านนักวิชาการด้านการบิน กล่าวว่า ความปั่นป่วนรูปแบบนี้ มักจะเกิดขึ้นรอบ ๆ กระแสลมกรด
ซึ่งเปรียบได้เป็น River ของอากาศ ที่ไหลตัวอย่างรวดเร็ว มักพบได้ที่ความสูง 40,000 - 60,000 ฟุต แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่อากาศส่วนบน อากาศส่วนล่าง เคลื่อนตัวแตกต่างกัน อาจจะเกิดการปั่นป่วนได้ และเมื่อ Airplane ได้ผ่านเข้าไปยังบริเวณนั้น จะเกิดการสั่นสะเทือนทันที [1]
สาเหตุของการ ตกหลุมอากาศ ?
สำหรับสาเหตุของการ ตกหลุมอากาศ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดด้วย 3 สาเหตุหลัก ๆ ดังนี้
- เมื่อ Airplane บินเข้ารอยต่อ ในช่วงที่มวลอากาศส่วนบน กับส่วนล่าง รวมถึงความหนาแน่นต่างกัน ซึ่งกรณีนี้ ไม่ว่าจะนักบิน หรือพนักงานต้อนรับ ก็ไม่มีใครทราบล่วงหน้าได้
- เมื่อมีลมเข้าชนกับภูเขา ทำให้อากาศอีกด้านที่พัดมาปั่นป่วน ซึ่งกรณีนี้นักบินตรวจจับ และคาดการณ์สถานการณ์ได้ และมักจะประกาศเตือนผู้โดยสาร ให้รัดเข็มขัดระหว่างที่นั่งอยู่
- เมื่อมีพายุฝนฟ้าคะนอง นักบินสามารถหลีกเลี่ยง ด้วยการไม่บินเข้าไปใกล้
- เมื่อมี Airplane ลำอื่น ที่กำลังบินใกล้อยู่ข้างหน้า
ที่มา: PPTV HD 36 - หลุมอากาศคืออะไร พร้อมวิธีรับมือเมื่อตกหลุมอากาศบนเครื่องบิน [2]
ประเภทของความปั่นป่วน
ในส่วนของประเภทความปั่นป่วน ตามข้อมูลมีทั้งหมด 4 ประเภทด้วยกัน โดยรายละเอียดมีดังนี้
- ความปั่นป่วนแบบเบา ( Light Turbulence ) : กรณีนี้จะเกิดการสั่นเพียงแค่เล็กน้อย อาจทำให้ไม่สบายตัว
- ความปั่นป่วนแบบปานกลาง ( Moderate Turbulence ) : กรณีนี้ Airplane จะสั่นตัวมาก หากไม่รัดเข็มขัดตามที่ลูกเรือสั่ง อาจหลุดจากเก้าอี้
- ความปั่นป่วนแบบรุนแรง ( Severe Turbulence ) : กรณีนี้จะเกิดการสั่นอย่างรุนแรง อาจได้รับบาดเจ็บ จนถึงขั้นเสียชีวิต
- ความปั่นป่วนแบบสุดขีด ( Extreme Turbulence ) : กรณีนี้ Airplane จะไม่สามารถควบคุมได้ จนถึงขั้นเครื่องบินตก
ที่มา: SPRING - หลุมอากาศคืออะไร อากาศแปรปรวนอันตรายแค่ไหน ถอดบทเรียน "สิงคโปร์แอร์ไลน์" [3]
ระดับความรุนแรง ตกหลุมอากาศ ที่อาจเกิดขึ้น
ความรุนแรงของการตกหลุมมวลอากาศ แบ่งระดับความรุนแรงออกได้เป็น 3 ระดับ โดยรายละเอียดมีดังนี้
- ระดับต่ำ ขึ้น - ลง 1 เมตร : อันนี้จะไม่รู้สึกตัว
- ระดับปานกลาง ขึ้น - ลง 3 - 6 เมตร : อันนี้จะรู้สึกตัว และน้ำในแก้วอาจหก
- ระดับรุนแรง ขึ้น - ลงได้มากถึง 30 เมตร : อันนี้ถ้าไม่รัดเข็มขัด อาจถึงขั้นกระเด็นหลุดจากเก้าอี้ได้
เหตุการณ์ระทึก ตกหลุมอากาศ ผู้โดยสารบาดเจ็บ 12 ราย
จากที่ก่อนหน้านี้ เหตุการณ์ระทึกบนสายการบิน SQ321 ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ ได้ขอลงจอดฉุกเฉิน ณ สนามบินสุวรรณภูมิ เนื่องจาก ตกหลุมอากาศ จนมีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 30 ราย แต่วันนี้วันที่ 27 พฤษภาคม 2024 เครื่องบินสายการบินกาตาร์แอร์เวย์ เส้นทางไปโดฮา - ดับลิน
ได้เกิดเหตุระทึกขึ้นอย่างรุนแรง เหนือน่านฟ้าประเทศตุรกี ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บรวม 12 ราย แต่นักบินได้ทำการบินต่อไป เพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง หากอยากติดตามสถานการณ์ สายการบินกาตาร์แอร์เวีย ที่เกิดเหตุการณ์เมื่อช่วงเช้าวันนี้ เกี่ยวกับสถานการณ์ความคืบหน้า สามารถอ่านข่าวต่อได้ที่ Thai PBS
สถานการณ์ฉุกเฉิน สามารถเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน ?
สำหรับคำถามนี้ได้มีนักวิจัยบางคน คิดว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ Turbulence เกิดขึ้นได้บ่อย เมื่อปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเรดดิ้ง พบว่า ความปั่นป่วนรุนแรงเพิ่มขึ้น 55% ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1979 - 2020 แต่ปัจจุบันนี้นั้น เปอร์เซ็นต์การเกิดเพิ่มขึ้นมาที่ 60%
ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัย
มาถึงข้อแนะนำในการรับมือ ตกหลุมอากาศ เพื่อความปลอดภัยของลูกเรือ ผู้โดยสาร รวมไปถึงนักบิน ส่วนแรกจะเริ่มที่ “ นักบิน ” ก่อนจะขึ้นบิน นักบินจะได้รับพยากรณ์อากาศเฉพาะทาง รวมถึงข้อมูลทางกรมอุตุนิยมวิทยา พวกเขาจะต้องศึกษาข้อมูลเหล่านี้ก่อน เพื่อวางแผนเส้นทางการบิน
หรือขณะที่กำลังบินอยู่บนท้องฟ้า แต่มี Airplane ลำอื่น บินอยู่บนเส้นทางเดียวกัน นักบินจะต้องหลีกเลี่ยงเส้นทางนั้น หรือจะชะลอความเร็วลง เพื่อลดผลกระทบ นอกจากนี้ ลูกเรือจะต้องผ่านการฝึกอบรม ขั้นตอนการตอบสนอง ต่อ Turbulence ของมวลอากาศ ที่เผชิญระหว่างเที่ยวบิน
ส่วนต่อมา “ ผู้โดยสาร ” อย่างแรกเลยคือการรัดเข็มขัด ถึงแม้ช่วงที่บินจะราบรื่นก็ตาม หากจะลุกเข้าห้องน้ำ หรือด้วยสาเหตุจำเป็น แต่ถ้าบนเครื่องปรากฏไฟ และเสียงสัญญาณเตือน ให้รีบกลับไปนั่งแล้วคาดเข็มขัดทันที ไม่ว่าลูกเรือจะแนะนำข้อปฏิบัติอะไรก็ตาม จะต้องทำตามอย่างเคร่งครัด
สรุป ตกหลุมอากาศ สภาวะฉุกเฉินอันตราย
สถานการณ์อันตราย ถึงแม้บางครั้งจะเกิดขึ้นระดับเบา แต่ผู้โดยสารจะต้องรู้วิธีรับมือ ข้อสำคัญคือการรัดเข็มขัดนิรภัย ปฏิบัติตามคำสั่งของลูกเรือ รวมไปถึงนักบิน เพื่อความปลอดภัย และช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้
อ้างอิง
[1] BBC NEWS. (May 22, 2024). เครื่องบินตกหลุมอากาศคืออะไร ทำไมถึงเกิดขึ้น. Retrieved from bbc
[2] PPTV HD 36. (May 21, 2024). หลุมอากาศคืออะไร พร้อมวิธีรับมือเมื่อตกหลุมอากาศบนเครื่องบิน. Retrieved from pptvhd36
[3] SPRING. (May 22, 2024). หลุมอากาศคืออะไร อากาศแปรปรวนอันตรายแค่ไหน ถอดบทเรียน "สิงคโปร์แอร์ไลน์". Retrieved from springnews